หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชน

๑.      ความหมายและความสำคัญของสิทธิมนุษยชน
               พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายของสิทธิมนุษยชนว่า หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธะกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม

๒.    แนวคิดและหลักการของสิทธิมนุษยชน
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน มีความก้าวหน้าและความเป็นสากลมากขึ้น หนึ่งมาจากการที่ประเทศไทยเป็นประเทศชั้นภาคีแนวหน้าขององค์การสหประชาชาติที่รับรองหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่สมัชชาใหญ่ขององค์การ-สหประชาชาติได้ประกาศไว้ใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ”  เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศสมาชิกใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อพลเมืองของตนและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศของตน

๓.    ความเป็นมาและสาระสำคัญของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
๓.๑ ความเป็นมา
แนวคิดเกี่ยวกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้นำมาซึ่งความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประเทศคู่สงครามอย่างมหาศาล
ภายหลังจากที่ได้มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้น จึงได้มีการพยายาผลักดันให้เร่งกำหนดแนวทางการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขึ้นมาคุ้มครองมนุษยชาติ
จนกระทั่งวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๑ มีมติยอมรับและประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติอย่างเป็นทางการและตามมาด้วยกติการะหว่างประเทศอีก ๒ ฉบับ คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม
๓.๒ สาระสำคัญ
               มีวัตถุประสงค์และหลักการทั่วไปเกี่ยวกับมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน แต่ไม่มีพันธะผูกพันในแง่ของกฎหมายระหว่างประเทศ กล่าวได้ว่าถือเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ช่วยในการวางรากฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับแรกของโลก
               ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีพันธกรณีกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจำนวน ๖ ฉบับ ได้แก่
·      อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
·      กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
·      กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
·      อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
·      อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ
·      อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านทรมานและการทารุณกรรม ตลอดจนการปฏิบัติหรือการลงโทษที่ลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์



๔.     บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตั้งแต่ปี ๒๔๙๒ ๒๕๓๔ ได้นำเนื้อความแห่งปฏิญญาสากลปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมาบัญญัติรวมไว้ แต่สิทธิมนุษยชนเพิ่งจะถูกนำมาบัญญัติไว้เป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๔๐ ในหมวดที่ ๖ รัฐสภา ส่วนที่ ๘ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาตรา ๑๙๙ ๒๐๐
ลประโยชน์กัอ่านเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น